Skip to main content

วิธีล้างหู ตา และจมูกเด็กทารก ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

Baby’s Eyes, Ears, Nose & Nails

ปัจจุบันมีโรคในระบบทางเดินหายใจเกิดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหวัด โรคภูมิแพ้ และไซนัสอักเสบ รวมถึงไวรัสและแบคทีเรียในอากาศ และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ก็อาจเป็นปัญหากับระบบทางเดินหายใจของเด็กได้ ซึ่งอาจจะทำให้ลูกน้อยมีน้ำมูกและเกิดการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นการสั่งน้ำมูกหรือและดูดเอาน้ำมูกออกอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ การล้างจมูกให้กับลูกน้อยจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม

การล้างจมูกคืออะไร

การล้างจมูก คือ การทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่หรือหยอดน้ำหรือน้ำเกลือเข้าไปในจมูกของเด็ก เพื่อชะล้างและทำความสะอาด น้ำมูก คราบมูก หรือสิ่งสกปรก บริเวณโพรงจมูกและหลังโพรงจมูกของเด็กออกมา ซึ่งจะช่วยทำให้โพรงจมูกสะอาด ช่วยลดความเหนียวของน้ำมูกและอาการคัดแน่นจมูก ทำให้หายใจโล่งขึ้นและป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้

ทำไมจึงต้องล้างจมูกเด็กทารก

การล้างจมูกให้กับลูกมีประโยชน์มากมาย

  1. ช่วยล้างมูกเหนียวข้นที่ไม่สามารถระบายออกได้เอง ทำให้โพรงจมูกสะอาด

  2. อาการหวัดเรื้อรังดีขึ้น

  3. การระบายหนองจากไซนัสดีขึ้น

  4. ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไปสู่ปอด

  5. ช่วยลดจำนวนเชื้อโรค ของเสีย สารก่อภูมิแพ้ และสารที่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อสารก่อภูมิแพ้

  6. ให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุจมูก

  7. บรรเทาอาการคัดแน่นจมูก ทำให้หายใจโล่งขึ้น

  8. บรรเทาอาการระคายเคืองในจมูก

  9. การล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูก จะทำให้ยาพ่นจมูกมีประสิทธิภาพดีขึ้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการล้างจมูกเด็กทารก

  1. น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% ขวดเล็ก
    Tips : แนะนำให้น้ำเกลือใช้ขวดเล็กเพื่อให้ใช้หมดโดยเร็ว ไม่ควรเปิดขวดทิ้งไว้และทิ้งน้ำเกลือที่เหลือจากการใช้งานทุกครั้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่หรือเทกลับเข้าขวดน้ำเกลือเดิม เพราะการเปิดขวดทิ้งไว้และใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่ได้

  2. ถ้วยสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ

  3. ภาชนะรองน้ำมูกและเสมหะ

  4. สบู่อาบน้ำเด็ก

  5. กระดาษทิชชู

  6. อุปกรณ์สำหรับใส่น้ำเกลือเพื่อฉีดล้างจมูก

อุปกรณ์สำหรับเด็กเล็ก (1-5 ปี)

อุปกรณ์สำหรับเด็กโต (6 ปีขึ้นไป) 1

กระบอกฉีดยาพลาสติก สำหรับใส่น้ำเกลือ

  • เด็กแรกเกิด - 1 ปี ใช้ขนาด 1 ซีซี (ไม่ใส่หัวเข็ม) หรือขวดยาหยอดตา

  • เด็กอายุ 1-5 ปี ใช้ขนาด 2-5 ซีซี (ไม่ใส่หัวเข็ม)

กระบอกฉีดยาพลาสติก สำหรับใส่น้ำเกลือ

  • ใช้ขนาด 10-20 ซีซี (ไม่ใส่หัวเข็ม)

ลูกยางแดง สำหรับดูดน้ำมูกและเสมหะ

  • เด็กแรกเกิด - 1 ปี ใช้เบอร์ 0-2

  • 1-5 ปี ใช้เบอร์ 2-4

ข้อควรระวังก่อนล้างจมูก :

หลังฉีดน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูกแล้วให้สั่งน้ำมูกหรือดูดน้ำมูกออกมาทันที ไม่ควรกลั้นหายใจเพื่อกักน้ำเกลือให้ค้างอยู่ในจมูกนาน ๆ เพราะน้ำเกลืออาจจะไหลย้อนไปในไซนัส และการส่งน้ำมูกให้สั่งเบา ๆ โดยไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง เพราะอาจทำให้แก้วหูทะลุได้

วิธีล้างจมูกเด็กทารกอย่างถูกวิธี

สำหรับเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้

  1. คุณพ่อคุณแม่ควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่มือก่อนสัมผัสตัวลูก

  2. ใช้ผ้าห่อตัวเด็กในกรณีที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือและดิ้นมาก การห่อตัวเด็กจะช่วยให้ผู้ล้างจมูกสามารถล้างจมูกได้สะดวก นุ่มนวล และไม่ให้เกิดการบาดเจ็บต่อเด็ก

  3. ให้เด็กนอนในท่าศีรษะสูงพอควรเพื่อป้องกันกันสำลัก

  4. เทน้ำเกลือใส่ขวดยาหยอดตา หรือ ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็ม

  5. จับหน้าเด็กให้นิ่ง จากนั้นค่อย ๆ หยดน้ำเกลือครั้งละ 2-3 หยด หรือ ค่อย ๆ สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้าง โดยให้วางปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนขอบรูจมูก แล้วค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5 ซีซี

  6. ใช้ลูกยางแดงเพื่อดูดน้ำมูกในจมูกออก โดยให้บีบลูกยางแดงจนสุดเพื่อไล่ลมออกก่อน แล้วค่อย ๆ สอดเข้าไปในรูจมูกของเด็ก ลึกประมาณ 1-1.5 ซ.ม. และค่อย ๆ ปล่อยมือที่บีบออกช้า ๆ เพื่อดูดน้ำมูกเข้ามาในลูกยางแดง จากนั้นบีบน้ำมูกในลูกยางแดงทิ้งในกระดาษทิชชู่

  7. ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จนจมูกแต่ละข้างไม่มีน้ำมูก

  8. ในกรณีที่รู้สึกว่ามีเสมหะในลำคอ ให้สอดลูกยางแดงเข้าทางปากเพื่อดูดเสมหะในคอออก ถ้าต้องการให้เด็กไอเอาเสมหะออก ให้สอดลูกยางแดงลึกถึงประมาณโคนลิ้นเพื่อกระตุ้นให้ไอ และทำการดูดเสมหะเหมือนที่กล่าวมาข้างต้น (ระหว่างดูดเสมหะให้จับหน้าเด็กหันไปด้านข้าง ข้างใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก)

สำหรับเด็กเล็กที่ให้ความร่วมมือและสั่งน้ำมูกเองได้

  1. คุณพ่อคุณแม่ควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่มือก่อนล้างจมูก

  2. ให้เด็กนั่งหรือยืน แหงนหน้าเล็กน้อย ค่อย ๆ สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้าง โดยให้วางปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนขอบรูจมูก

  3. ค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5-1 ซีซี หรือเท่าที่เด็กทนได้ พร้อมกับสั่งให้เด็กกลืนน้ำเกลือที่ไหลลงคอเป็นระยะ ๆ ระหว่างฉีดน้ำเกลือ หรือให้บ้วนทิ้ง

  4. ให้เด็กสั่งน้ำมูกพร้อม ๆ กันทั้ง 2 ข้าง โดยไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง

  5. ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จนจมูกแต่ละข้างไม่มีน้ำมูก

วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูก

ควรล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเติบโตและเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ด้วยวิธีดังนี้

วิธีล้างกระบอกฉีดยา และภาชนะที่ใส่น้ำเกลือ

  1. ล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่อาบน้ำเด็ก โดยบีบสบู่ลงฝ่ามือ ผสมน้ำเล็กน้อยแล้วถูให้ทั่วกระบอกฉีดยาและภาชนะที่ใช้ล้างจมูก

  2. ล้างคราบสบู่ออกด้วยน้ำสะอาด และนำไปผึ่งให้แห้ง

วิธีล้างลูกยางแดง

  1. ล้างภายนอกลูกยางแดง ด้วยน้ำสะอาดและสบู่อาบน้ำเด็ก โดยบีบสบู่ลงฝ่ามือผสมน้ำเล็กน้อยแล้วถูให้ทั่วลูกยางแดง

  2. ล้างภายในลูกยางแดง โดยผสมสบู่กับน้ำสะอาด จากนั้นบีบลูกยางแดงในน้ำสบู่หลาย ๆ ครั้ง เพื่อดูดให้น้ำสบู่เข้าไปทำความสะอาดภายใน

  3. ล้างลูกยางแดงทั้งภายนอกและภายในด้วยน้ำสะอาด โดยบีบลูกยางแดงในน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง จนไม่มีคราบหรือฟองสบู่

  4. ผึ่งให้แห้ง โดยคว่ำปลายลูกยางแดงลง

  5. ควรนำลูกยางแดงไปต้มในน้ำเดือดวันละครั้ง โดยดูดน้ำเดือดเข้ามาในลูกยางแดงแล้วต้มประมาณ 5 นาที เสร็จแล้วบีบน้ำที่ค้างในลูกยางออกจนหมด วางคว่ำในภาชนะที่สะอาดโดยคว่ำปลายลูกยางแดงลง

https://www.johnsonsbaby.co.th/sites/jbaby_th/files/pic1.png

Tips : สามารถใช้ จอห์นสัน ท็อปทูโท เบบี้ บาธ ทำความสะอาดผิวลูกน้อยและอุปกรณ์สำหรับล้างจมูกได้ ด้วยสูตรอ่อนโยนไม่ต่างจากน้ำบริสุทธิ์ ที่สามารถทำความสะอาดผิวเด็กแรกเกิดได้อย่างอ่อนโยน และช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย 99.9%* และมีค่า pH ที่เหมาะกับผิว จึงไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวลูกน้อย

*ผลทดสอบในห้องปฏิบัติการ SGS-CSTC Standards Technical Services (Shanghai) Co., Ltd. เดือน มิ.ย.-ก.ค. 2560 ประเทศจีน เฉพาะสูตร Johnson’s Top-to-Toes Baby Bath and Active Kids Clean & Fresh Bath

Q&A ตอบข้อสงสัยการล้างจมูกเด็กทารก กับ Johnson's Baby

Q. การล้างจมูกมีอันตรายหรือไม่ ?

A.หากปฏิบัติด้วยวิธีที่ถูกต้องก็จะไม่มีอันตราย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเรียนรู้วิธีการล้างจมูกให้ลูกอย่างถูกต้อง และควรล้างจมูกก่อนเวลารับประทานอาหาร หรือ รับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 2 ชม. ขึ้นไป เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้างจมูกไม่ให้เกิดขึ้นได้ เช่น การนำเชื้อเข้าไปในโพรงไซนัส ปัญหาการสำลัก

Q. ควรล้างจมูกเด็กได้ตั้งแต่กี่เดือน ?

A.คุณพ่อคุณแม่สามารถล้างจมูกได้ตั้งแต่ทารกวัยแรกเกิด โดยเฉพาะหากพบว่าลูกมีอาการคัดจมูก แน่นจมูก หายใจไม่ออก หรือมีน้ำมูกเหนียวข้นจำนวนมาก ก็สามารถทำการล้างจมูกได้ และสามารถล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยาพ่นจมูกให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

Q. ควรล้างจมูกบ่อยแค่ไหน ?

A.ควรอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเวลาตื่นนอนตอนเช้าและก่อนเข้านอน หรือเมื่อรู้สึกว่าลูกมีน้ำมูกมาก แน่นจมูก หรือล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูก โดยแนะนำให้ล้างจมูกในช่วงก่อนทานอาหารหรือตอนที่เด็กท้องว่าง เพราะจะได้ไม่เกิดอาการอาเจียนหรือสำสัก

Q. ที่ล้างจมูกทารกจำเป็นไหม ?

A.ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละครอบครัว โดยอาจเลือกใช้ที่ล้างจมูกสำหรับทารก หรือกระบอกฉีดยาแบบไม่ใส่เข็ม หรือใช้ขวดยาหยอดตาแทนก็ได้ ซึ่งก็ไม่ได้ผิดแต่อย่างใด แต่ควรให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้ จะต้องมีการล้างทำความสะอาดทั้งก่อนและหลังการล้างจมูก เพื่อป้องกันไม่ให้มีเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกสะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กได้

Q. ควรใช้น้ำเกลือล้างจมูกเด็กจริงหรือ ?

A.ควรน้ำเกลือ 0.9 % ล้างจมูกทารก ซึ่งน้ำเกลือมีความปลอดภัยต่อโพรงจมูกของเด็ก ทำให้ไม่เสี่ยงต่อการระคายเคืองที่รุนแรง และยังมีคุณสมบัติช่วยลดความเหนียวของน้ำมูก ลดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอีกด้วย

Logo Baby Center

เล็บที่สั้นคือเล็บที่ปลอดภัย

การตัดเล็บให้ทารกอาจดูน่ากลัวในตอนแรก แต่ด้วยคำแนะนำทีละขั้นตอนของ BabyCenter® คุณก็พร้อมเริ่มลงมือตัดเล็บให้ลูกน้อยแล้ว

คุณแม่ทั่วโลกไว้วางใจ JOHNSON’S® ให้ดูแลลูกน้อย

เรามุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับคุณแม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ และนักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะยังคงบรรลุมาตรฐานสูงสุดในด้านความปลอดภัย คุณภาพ และความใส่ใจ

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง