Skip to main content

สาเหตุของโรคผิวอักเสบ วิธีดูแลรักษาและป้องกัน

ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) เป็นภาวะอักเสบของผิวหนังที่เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุและหลายรูปแบบ ส่วนมากมักมีผื่นคัน บวม หรือแดงตามผิวหนัง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่บนร่างกาย รวมทั้งหนังศีรษะด้วย ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากปัจจัยภายใน แต่ก็อาจเกิดจากปัจจัยภายนอกได้เช่นกัน เราจึงควรทำความเข้าใจสาเหตุ วิธีดูแลรักษาและป้องกันควบคู่กันไปด้วย

ประเภทของโรคผิวหนังอักเสบ

https://www.johnsonsbaby.co.th/sites/jbaby_th/files/2_19.jpg

โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Atopic Dermatitis or eczema)

เป็นโรคที่มีการอักเสบของผิวหนังอย่างเรื้อรัง อาจเป็น ๆ หาย ๆ โดยโรคนี้พบได้บ่อยในเด็ก แต่สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน มีอาการผิวหนังแห้งอักเสบ และมีอาการคัน ซึ่งมักคันตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลากลางคืน นอกจากนี้อาจเกิดเป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง อาจมีน้ำเหลืองไหลร่วมด้วย

โรคผื่นต่อมไขมันอักเสบ (Seborrheic dermatitis)

เป็นปัญหาผิวเรื้อรัง อาการแสดงอาจพบเป็นรังแค โดยมากกว่า 50% ในผู้ใหญ่มักพบปัญหารังแค ขุยแห้งสีเหลืองบริเวณหนังศรีษะ นอกจากนั้นอาการเป็นขุยสีเหลืองยังพบได้ในบริเวณอื่น โดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันเป็นจำนวนมาก เช่น ใบหน้า คิ้ว รอบดวงตา หู จมูก แก้ม

โรคผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis)

โรคผื่นระคายสัมผัส คือ อาการผื่นแดงบนผิวหนังที่มักทำให้รู้สึกคันและไม่สบายตัว โดยมักเกิดหลังจากผิวหนังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้หรือสารบางอย่างที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ในกรณีที่ผิวหนังชั้นนอกถูกทำลายอาจทำให้เกิดอาการผื่นคันขึ้นได้ง่ายขึ้น

โรคผื่นผิวหนังอักเสบ คือ

โรคผื่นผิวหนังอักเสบ (Atopic Dermatitis) มักจะเริ่มเป็นได้ตั้งแต่อยู่ในวัยทารก โดยส่วนใหญ่มีอาการผื่นคันและแดงตามผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา และลำคอด้านหน้า หากเกามาก ๆ อาจมีหนองไหลหรือเกิดเป็นสะเก็ดหนองตามมาได้ ซึ่งผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้อาจมีอาการดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่ก็อาจกลับไปเป็นอีกได้เรื่อย ๆ

สาเหตุของโรคผื่นผิวหนังอักเสบ

  1. เกิดจากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน เช่น อาการผิวแห้ง พันธุกรรม ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียบนผิวหนัง และสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยก็เป็นสาเหตุได้

  2. เชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อบนผิวหนัง หรือผู้ที่เป็นผิวหนังอักเสบเดิมอาจจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น

  3. ผื่นระคาย มีสาเหตุเกิดจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับสารก่อความระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น โลหะบางชนิด ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด น้ำหอม ยาย้อมผม เครื่องสำอาง หรือครีมบำรุงผิวต่าง ๆ

  4. สำหรับภาวะผิวหนังอักเสบจากโรคเซบเดิร์ม อาจเกิดจากการติดเชื้อราซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำมันตามผิวหนัง โดยเฉพาะบนหนังศีรษะและใบหน้า ผู้ป่วยอาจเป็นเฉพาะบางช่วงฤดูเท่านั้น และเมื่อหายแล้วก็อาจกลับไปเป็นอีกได้เมื่อฤดูนั้นมาถึง

ลักษณะอาการของโรคผื่นผิวหนังอักเสบ

  1. เกิดผื่นแดงตามข้อพับ เช่น ข้อพับแขน ข้อพับขา คอ รักแร้ ขาหนีบ ร่องก้น เป็นอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ที่มักเกิดในช่วงวัยของทารก

  2. เกิดผื่นหรือตุ่มคันตามแขน ขา ทั้ง 2 ข้าง หรือลำตัว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสัมผัส เป็นผื่นระคายเคืองจากการสัมผัสโดนสารก่อภูมิแพ้ เช่น ครีมอาบน้ำ ผงซักฟอก ขนสัตว์ เกสรดอกไม้

  3. มีผื่นขึ้นเป็นดวงหรือวงสีขาว บริเวณใบหน้า หรือแขนขา

  4. ผิวหนังเป็นแผ่นตกสะเก็ดและมีอาการแดง หากเป็นที่ศีรษะจะเกิดเป็นรังแคเรื้อรัง โดยมักเป็นตามผิวหนังที่มีความมัน เช่น ใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณเปลือกตาและจมูก หน้าอกส่วนบน และหลัง อาจเป็นที่มาของโรคเซบเดิร์ม ซึ่งจะเป็น ๆ หาย ๆ

  5. ผื่นคันแดง หรือสีน้ำตาลบริเวณข้อศอก นอกจากนี้ ผื่นแดงลอกเป็นสะเก็ดที่นิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือหรือ ฝ่าเท้า รวมถึงริมฝีปากแดง แห้งลอก เป็นต้น

  6. นอกจากอาการผิวหนังอักเสบข้างต้นแล้ว จะต้องสังเกตอาการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น รู้สึกเจ็บที่ผิวหนัง หรือมีอาการคันรบกวนจนทำให้นอนไม่หลับ เกิดตุ่มหนองบนแผ่นผิวหนังที่มีอาการอักเสบ อาจแสดงถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

วิธีรักษาโรคผิวหนังอักเสบ

1.หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทำให้ผื่นกำเริบ ได้แก่

  1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ควัน ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสรต่าง ๆ

  2. หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศร้อนจัด หรือ หนาวจัด

  3. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาด สารเคมี

  4. หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าเนื้อหยาบ ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง

  5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย เช่น ไข่ นมวัว แป้งสาลี อาหารทะเล ในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจยืนยันว่าแพ้อาหารชนิดนั้นแล้วจริง ๆ

2.อาบน้ำด้วยสบู่ที่เหมาะกับผิวบอบบาง มีแนวโน้มระคายเคืองง่าย อย่าง จอห์นสัน มิลค์ + ไรซ์ เบบี้ บาธ ที่ผสานคุณค่าน้ำนมธรรมชาติเข้มข้นขึ้นถึง 100%* และสารสกัดจากข้าว มีค่า pH ที่เหมาะกับผิว ผ่านการทดสอบการระคายเคือง (hypoallergenic tested) เหมาะสำหรับผิวบอบบาง แพ้ง่ายโดยเฉพาะ

1.ทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เพิ่มความชุ่มชื้นผิวหนัง (Moisturizer) อย่างสม่ำเสมอ เช่น เบบี้ออยล์ ที่ช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นให้ผิว หรือ ทาโลชั่นทาผิวสูตรอ่อนโยน อย่าง จอห์นสัน คอตตอนทัช เฟซ แอนด์ บอดี้ โลชั่น ผสานคุณค่าฝ้ายจากธรรมชาติ 100% ช่วยเสริมเกราะปกป้องความชุ่มชื้นผิวใน 4 สัปดาห์* ไม่ให้ผิวหนังที่อ่อนแอเกิดการระคายเคืองมากขึ้น เหมาะกับผิวบอบบางระคายเคืองง่าย โดยหมั่นบำรุงผิวหลังอาบน้ำเป็นประจำวันละ 2 ครั้ง เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นของผิวได้มากที่สุด *ผิวที่อาจมีแนวโน้มแพ้ง่ายเนื่องจากผิวแห้ง

3.พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้ผื่นกำเริบได้


https://www.johnsonsbaby.co.th/sites/jbaby_th/files/3_10.jpg

4.รักษาด้วยยาตามคำแนะนำของแพทย์

4.1 ยาต้านการอักเสบที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่ (Topical anti-inflammatory drugs) เช่น ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ จะช่วยลดการอักเสบ และอาการคัน หรือ ยาทากลุ่ม Calcineurin inhibitors พบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ใช้เป็นยาทางเลือกในการรักษาทดแทนยาทากลุ่มสเตียรอยด์

4.2 ยาต้านการอักเสบที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย (Systemic anti-inflammatory drugs) เช่น ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดหรือรับประทาน และยากดภูมิคุ้มกัน มักใช้ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมากและไม่ตอบสนองต่อการรักษาทั่วไป

อาการแบบไหนจึงควรไปพบแพทย์

หากพบอาการของผิวหนังอักเสบในลักษณะต่อไปนี้ อย่ารอช้าและควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที

  1. รู้สึกเจ็บที่ผิวหนังหรือมีอาการคันรบกวนจนทำให้นอนไม่หลับ หรือเกิดปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน

  2. เมื่อรักษาด้วยยาที่หาซื้อได้เองทั่วไปแล้วยังไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์

  3. เกิดตุ่มหนองบนแผ่นผิวหนังที่มีอาการอักเสบ อาจแสดงถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย และควรต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

  4. บริเวณที่เกิดการอักเสบของผิวหนังมีตุ่มน้ำเล็ก ๆ ทำให้รู้สึกเจ็บอยู่จำนวนมาก โดยอาจเป็นการติดเชื้อเริมที่เกิดในผู้ป่วยโรคผิวหนัง แม้จะพบได้ไม่บ่อย แต่ก็สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้จากการติดเชื้อไวรัสโรคเริมได้

  5. มีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคผิวหนังติดเชื้อจากไวรัสระหว่างที่เกิดภาวะผิวหนังอักเสบ เช่น เริมที่ปาก หรือเริมที่อวัยวะเพศ เนื่องจากการมีภาวะผิวหนังอักเสบอยู่แล้วจะยิ่งเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคเริม

โรคผิวหนังอักเสบอาจเกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ควรหมั่นสังเกตุอาการและดูแลป้องกันอย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีง่าย ๆ โดยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว จะช่วยเสริมเกราะป้องกันให้ผิวแข็งแรง และลดสาเหตุของการเป็นโรคผิวหนังอักเสบได้ในระยะยาวด้วย