Skip to main content

ผื่นแพ้อากาศ ผื่นคันแพ้ฝุ่น เกิดจากสาเหตุอะไร และป้องกันได้อย่างไร

อาการ “ผื่นแพ้อากาศ” หรือ “ผื่นคันแพ้ฝุ่น” มักเกิดจากการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกไม่ว่าจะเป็นมลภาวะต่าง ๆ รวมทั้งอากาศที่เปลี่ยนแแปลงบ่อย จึงส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายแล้วยังเป็นอันตรายต่อผิวหนังอีกด้วย แม้จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เพราะต้องออกไปดำเนินชีวิตทุกวัน แต่การเข้าใจว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร มีอาการและลักษณะผื่นเป็นอย่างไร เพื่อที่เราจะได้ดูแลและป้องกันตัวเองจากอาการผื่นแพ้อากาศได้อย่างดีที่สุด

ผื่นแพ้อากาศ คือ

“ผื่นแพ้อากาศ” หรือ “ผื่นคันแพ้ฝุ่น” คือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดหนึ่ง (Atopic Dermatitis) ที่มักมาพร้อมกับอาการภูมิแพ้อากาศ ซึ่งเกิดจากสภาพอากาศเป็นพิษจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ควัน ละอองฝุ่น ฝุ่น PM 2.5 เกสรดอกไม้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลัน เช่น อากาศร้อนหรือหนาวอย่างรวดเร็ว และความชื้นในอากาศ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนอง และแสดงอาการออกมาทางผิวหนังจากการระคายเคือง และมีอาการทางระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย

ลักษณะ อาการผื่นแพ้อากาศ

https://www.johnsonsbaby.co.th/sites/jbaby_th/files/2_22.jpg

โดยเริ่มต้นอาจมีการระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจบริเวณจมูกและคอ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม ตาแดง หรือเริ่มมีอาการคันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีอาการผิวหนังแห้งร่วมกับผิวหนังลอกเป็นขุย และเริ่มมีตุ่มนูนขึ้นมาบริเวณผิวหนัง เกิดผื่นแดงเป็นปื้น ๆ จนอักเสบและบวมขึ้น บ้างก็รู้สึกคันหรือแสบบริเวณที่มีผื่น ซึ่งหากไม่รีบดูแลรักษาผื่นอาจขยายเป็นวงกว้างได้ หากเกิดอาการคันมาก ๆ และมีการเกาบริเวณผื่นบ่อย ๆ อาจทำให้เป็นแผลได้

สาเหตุของผื่นแพ้อากาศ มีอะไรบ้าง

https://www.johnsonsbaby.co.th/sites/jbaby_th/files/3_13.jpg

1. สภาวะแวดล้อมและอากาศที่ไม่เหมาะสม

การอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีมลพิษที่ทำให้ผิวเราอ่อนแอ เช่น การใช้น้ำที่สกปรก รวมทั้งไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวันที่ผิวต้องสัมผัสกับสิ่งสกปรกในอากาศ เช่น ฝุ่น ควัน รังสียูวี เป็นประจำ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในอากาศ

2. เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ

เชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ จากการสัมผัสสิ่งสกปรกหรือโรคระบาด ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราลดลง ส่งผลให้ร่างกายที่อ่อนแอจนเจ็บป่วยได้ง่าย ผิวจึงอ่อนแอลงจนเกิดผื่นแพ้อากาศขึ้นมาได้เช่นกัน

3. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีสารก่อภูมิแพ้

อย่าง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว สบู่ ผงซักฟอก ที่อาจจะมีสารก่อภูมิแพ้ เช่น น้ำหอม สารกันเสีย สารสังเคราะห์ต่าง ๆ ที่กระตุ้นและทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองจนเกิดผื่นแพ้อากาศได้ง่าย

วิธีดูแลรักษาผื่นแพ้อากาศ

เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ให้ความชุ่มชื้น และลดการระคายเคืองต่อผิว

ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสูตรอ่อนโยนและให้ความชุ่มชื้นตั้งแต่ขั้นตอนอาบน้ำจนไปถึงการบำรุงผิว จะช่วยลดโอกาสในการเกิดผื่นแพ้อากาศได้ โดยเลือกใช้ จอห์นสัน คอตตอนทัช ท็อปทูโท บาธ ในการอาบน้ำ และควรบำรุงผิวหลังจากอาบน้ำด้วย จอห์นสัน คอตตอนทัช เฟซ แอนด์ บอดี้ โลชั่น ซึ่งทั้งสองผลิตภัณฑ์เป็นสูตรอ่อนโยนเป็นพิเศษสำหรับผิวบอบบางและมีแนวโน้มแพ้ง่าย จะช่วยเสริมเกราะป้องกันผิวและความชุ่มชื้นกับผิว ทำให้ผิวดูแข็งแรงและมีสุขภาพดี นอกจากนี้ยังไม่มีส่วนผสมของ พาราเบน แอลกอฮอล์ พาทาเลต ซัลเฟต และมีค่า pH ที่เหมาะสมต่อผิว ซึ่งผ่านการทดสอบการระคายเคืองและได้รับการพิสูจน์ทางคลินิกแล้วว่าปลอดภัย จึงไม่ระคายเคืองต่อผิวแม้ผิวแพ้ง่าย

ใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการแพ้

กรณีที่เป็นผื่นแพ้อากาศสามารถทาครีมที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เพื่อช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนังและลดอาการบวมให้ดีขึ้นได้ หรือ ใช้ยาแก้แพ้ ยาหยอดตา พ่นยาแก้แพ้ ทั้งนี้การใช้ยาต่าง ๆ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น และไม่อาบน้ำเป็นเวลานาน ๆ

แม้ว่าการอาบน้ำจะเป็นการทำให้ร่างกายของเราสะอาด แต่การอาบน้ำอุ่นหรือน้ำที่ร้อนเกินไป และใช้ระยะเวลาในการอาบน้ำนาน อาจทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นมากกว่าปกติ จนทำให้ผิวแห้งและเกิดผื่นคันได้ แนะนำให้อาบน้ำที่อุณภูมิปกติ และใช้เวลาที่เหมาะสมควรไม่เกิน 5-10 นาที

ไม่เกาบริเวณที่เกิดผื่นคัน

ไม่เกาบริเวณที่เกิดผื่นคัน เพราะบริเวณมือที่เราใช้สัทผัสสิ่งต่าง ๆ อาจมีเชื้อโรคและแบคทีเรีย ซึ่งหากไปสัมผัสหรือเกาในบริเวณที่เป็นผื่น อาจทำให้ผื่นอักเสบมากขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ

วิธีป้องกันผื่นแพ้อากาศ

การป้องกันผื่นแพ้อากาศด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ซึ่งทำได้ เช่น

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

เช่น อาบน้ำในอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อไม่ไให้ผิวแห้งจนเกินไปจนผิวระคายเคือง หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และสวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกันทุกครั้งเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นละออง ควัน หรือมลพิษทางอากาศมาก ๆ เพื่อป้องกันสารก่อภูมิแพ้ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศ และเพื่อลดโอกาสที่จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดผื่นแพ้อากาศได้

รักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า

ทำความสะอาดร่างกายด้วยการอาบน้ำ หมั่นล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และซักเสื้อผ้าให้สะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากฝุ่นและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่ร่างกาย มือ หรือเสื้อผ้า อาจทําให้เกิดอาการแพ้ได้

ทำความสะอาดที่พัก และบริเวณจุดสัมผัสบ่อย ๆ

ทำความสะอาดที่พักอาศัย เครื่องใช้ต่าง ๆ หรือดูดฝุ่นตรงซอกประตู หน้าต่าง ใต้ตู้-เตียง รวมไปถึงหมั่นเช็ดทำความสะอาดจุดสัมผัสบ่อยต่าง ๆ เช่น ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ เมาส์ แป้นพิมพ์ อย่างสม่ำเสมอเพื่อลดโอกาสของการเกิดสะสมของฝุ่นละออง แบคทีเรีย และสารก่อภูมิแพ้ที่กระตุ้นอาการผื่นแพ้ได้

หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารก่อการแพ้

เลี่ยงที่การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าและผิวกาย รวมถึงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีสารก่อให้เกิดอาการแพ้ อย่างน้ำหอม สารกันเสีย เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องใช้สัมผัสกับผิวเราโดยตรง

พักผ่อนให้เพียงพอ และทานอาหารที่มีประโยชน์

ควรนอนหลับพักผ่อนให้ได้วันละ 7 – 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ และทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงและมีสุขภาพดี ช่วยลดโอกาสที่จะเป็นผื่นแพ้อากาศได้ นอกจากนี้จะช่วยให้ร่างกายสามารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือดจะช่วยให้ผิวที่หมองคล้ำกลับมาสดใสได้ และยังช่วยผิวสดชื่นอีกครั้งด้วย

คำถามที่พบบ่อย

Q: ผื่นแพ้อากาศต้องไปหาหมอหรือไม่ ?

A:  หากมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีอาการคัดจมูกเล็กน้อยหรือมีผื่นคันขึ้นบางจุด สามารถรักษาเบื้องต้นด้วยตัวเองด้วยการทายาหรือรับประทานยาแก้แพ้ แต่หากไม่แน่ใจว่าเป็นอาการผื่นแพ้อากาศหรือไม่ หรือ มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น จามอย่างหนัก น้ำมูกไหล เจ็บคอ มีเสมหะ คันตา ตาแดง และหูอื้อ แนะนำให้พบแพทย์ผู้เชียวชาญเพื่อวินิจฉัยอาการ แนะนำวิธีรักษา และป้องกันที่เหมาะสมให้ได้เช่นกัน

Q: ผื่นแพ้อากาศคือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดหนึ่งหรือไม่ ?

A:  ผื่นแพ้อากาศ คือ อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) ที่เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักจะเกิดในคนที่มีผิวหนังที่บอบบางไวต่อสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ควัน อาหาร ยา สารก่อภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดผื่นแพ้อากาศขึ้นง่ายมากกว่าคนอื่น ๆ ทั่วไป

Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าเรานั้นมีปัญหาเรื่องผื่นแพ้อากาศ ?

A:  สังเกตได้จากอาการผื่นเมื่อมีการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ฝุ่น ควัน หรืออยู่ในอุณหภูมิและสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอย่างกะทันหัน จะทำให้มีรอยผื่นปรื้นแดง ๆ ขึ้นตามบริเวณใบหน้า ลำคอ แขน ขา หรือขอพับ บางครั้งอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา ตาแดง