เตรียมรับมือ! "อาการคันคนท้อง" ที่คุณแม่ทุกคนต้องเจอ
เมื่อผู้หญิงเราได้รับข่าวดีกับการเริ่มต้นเป็นคุณแม่ หรือตั้งครรภ์แล้ว ว่าที่คุณแม่จะค่อยๆ เริ่มพบเจอกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอาการคันของคนท้อง, น้ำหนักเพิ่ม, ปวดหลัง, หน้าท้อง หรือแขนขาแตกลาย ซึ่งทำให้ว่าที่คุณแม่หลายคนอาจรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว แต่คุณแม่ก็สามารถดูแลและบรรเทาอาการเหล่านี้ขณะตั้งครรภ์ด้วยตนเองได้ รวมถึงไม่ทิ้งเอฟเฟ็กต์หลังคลอดได้ด้วย แต่จะต้องเตรียมรับมือและดูแลอย่างไร ให้ปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อยที่รักในท้อง มาดูวิธีที่เรานำมาฝากกันเลย
7 ความเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเตรียมรับมือ พร้อมวิธีดูแล
1. อาการคันท้องของคนท้อง
อาการคันของคนท้อง เป็นปัญหาแรกๆ ที่ว่าที่คุณแม่หลายคนพบเจอ ซึ่งอาการคันนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะมาจากอากาศ อาหาร หรือการขยายตัวของผิวหนังขณะตั้งท้อง แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากฮอร์โมนที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ความชุ่มชื้นของผิวลดลง ผิวจึงแห้งและคันได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ก็สามารถดูแลผิวจากภายนอกได้ง่ายๆ ด้วยการ
ใช้โลชั่นบำรุงผิวเติมความชุ่มชื้น
เลี่ยงการอาบน้ำอุ่น น้ำร้อน ใช้สบู่อาบน้ำที่อ่อนโยนและดูแลความชุ่มชื้นให้ผิวได้
หลังอาบน้ำใช้เบบี้ออยล์บำรุงเพิ่มความชุ่มชื้น
ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อร่างกาย
แต่หากอาการคันของคนท้องรุนแรงมากขึ้นในช่วง 2- 3 เดือนก่อนกำหนดคลอด อาจเป็นสัญญาณของภาวะดีซ่าน ซึ่งอาจส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ ภาวะอาการของคนท้องแบบนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือผู้ผดุงครรภ์ของคุณแม่เพื่อรับการตรวจที่เหมาะสม
2. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
เรื่องของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ว่าที่คุณแม่ไม่ต้องกังวล เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในเกณฑ์ปกติจะทำให้สุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยแข็งแรง อีกทั้งหลังคลอดลูกเรียบร้อยแล้วน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมานี้ จะหายไปกับน้ำหนักตัวของลูกน้อย และส่วนที่เหลือก็จะค่อยๆ ลดลงใกล้เคียงกับช่วงก่อนการตั้งครรภ์นั่นเอง แต่ในระหว่างนี้ว่าที่คุณแม่เองก็ต้องพยายามดูแลน้ำหนักไม่ให้เพิ่มเยอะมากจนเกินไป ซึ่งสามารถดูแลตัวเองได้ดังนี้
รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
งดรับประทานอาหารขยะ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (ภายหลังการตรวจกับผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณ)
3. อาการคนท้องปวดหลัง
ในช่วงอายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น ว่าที่คุณแม่อาจจะประสบกับอาการคนท้องปวดหลังได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาทางกายที่ทำให้ว่าคุณแม่ใช้ชีวิตลำบากขึ้น รวมถึงไม่สบายตัวได้ไม่น้อยลองวิธีการเหล่านี้เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังในคนท้อง ลดความไม่สบายตัว และยังช่วยให้นอนหลับได้สนิทมากขึ้น
การยืดตัวหรือโยคะง่ายๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและยืดกล้ามเนื้อหลังและขา
นวดตัวของคุณเอง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังที่เกร็ง
พยายามนอนตะแคง งอเข่า และวางขาลงบนหมอนข้างที่มีความแข็งและหนาเพื่อถ่ายน้ำหนักจากท้องออกไป ช่วยลดภาระการทำงานของกล้ามเนื้อหลัง
ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มมากขึ้น หรือเกินเกณฑ์มาตรฐาน
นั่งให้ถูกต้อง โดยนั่งหลังตรง เอน พิงพนักเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลังและเบาะนั่งที่ไม่นุ่มเกินไปเล็กน้อย และควรมีเก้าอี้เตี้ยๆ รองรับเท้า ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง หรือนั่งนานๆ และควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
ใช้ครีมทาบรรเทาอาการปวด
4. อาการข้อเท้าและเท้าบวม
เนื่องจากร่างกายของว่าที่คุณแม่มีฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น มดลูกมีการขยายตัวจนกดการไหลเวียนเลือด รวมถึงร่างกายมีการสะสมน้ำมากขึ้นขณะมีครรภ์ ว่าที่คุณแม่จึงอาจประสบกับอาการขา, ข้อเท้า หรือ เท้าบวม (อาการบวมน้ำ) โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้าย เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถดูแลตัวเองได้ดังนี้ :
หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ หรือเดินเยอะๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
สวมใส่รองเท้าที่ใส่สบาย
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติของคนท้อง
ออกกำลังกายขยับบริเวณปลายเท้า ด้วยการกระดกปลายเท้าขึ้นลง และหมุนข้อเท้าไปมา
ใช้หมอนรองเท้าให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด
งดอาหารที่ทำให้ร่างกายสะสมน้ำ รวมถึงอาหารที่มีรสเค็ม
แช่น้ำอุ่นประมาณ 15-20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวม ว่าที่คุณแม่สามารถหยด จอห์นสัน เบดไทม์ เบบี้ ออยล์ เพื่อดูแลความชุ่มชื้นให้ผิว และใช้เป็นน้ำมันหอมระเหย ผ่อนคลายความเครียดได้
หมายเหตุ: ติดต่อแพทย์ประจำตัว หรือผู้ผดุงครรภ์ทันที หากสังเกตเห็นอาการบวมฉับพลันที่มือและใบหน้าของคุณ เพราะอาจมันเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ
5. ผิวและท้องแตกลาย
ปัญหาผิวแตกลาย เป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยไม่แพ้อาการคันในคนท้องเลยทีเดียว แม้ว่าจะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่จะมีผิวแตกลาย แต่เนื่องจากผิวแตกลายนั้นจะเกิดกับผิวหนังที่เกิดการยืดออกอย่างรวดเร็วจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ซึ่งว่าที่คุณแม่ทั้งหลายก็มีโอกาสพบเจอปัญหาผิวแตกลายเนื่องจากการยืดตัวของผิวหนังขณะท้องได้มากกว่าปกติและแม้ว่าจะมีงานวิจัยแนะนำให้คนที่มีผิวแตกลายใช้ครีมเทรติโนอิน (Tretinoin) เพื่อช่วยดูแลปัญหานี้ได้ แต่ครีมชนิดนี้ก็ไม่ปลอดภัยกับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือขณะให้นมลูก ดังนั้นเพื่อลดโอกาสการเกิดปัญหาผิวและท้องแตกลายในคนท้อง สามารถดูแลตัวเองได้ดังนี้
เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นที่ทำให้ผิวแห้งขาดความยืดหยุ่น
ทาโลชั่นบำรุงผิวป็นประจำ โดยแนะนำให้เริ่มทาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อให้ผิวชุ่มชื้นและยืดหยุ่นได้ดี
ใช้เบบี้ออยล์ทาหลังอาบน้ำเป็นประจำเพื่อกักเก็บความชุ่มชื่นให้ผิวที่ดีกว่า
ดูแลน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสม
6. เล็บมือที่ยาวขึ้นอย่างรวดเร็ว
ช่วงเวลาประมาณเดือนที่ 4 เล็บของว่าที่คุณแม่อาจเริ่มที่จะยาวเร็วกว่าปกติ แต่กลับกันเล็บที่ยาวเร็วขึ้นนั้นอาจจะอ่อนลงและเปราะมากขึ้น และทำให้เกิดร่องเล็กๆ ซึ่จะกลับมาเป็นปกติภายในไม่กี่เดือนภายหลังการคลอดบุตร แต่ทั้งนี้คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถดูแลเล็บให้แข็งแรงได้ โดย
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินซีและวิตามินบี เสริมการดูแลเล็บให้แข็งแรง
ทาแฮนด์ครีมบำรุงมือและเล็บ
พักผ่อน ออกกำลังกายคลายเครียด เพื่อดูแลฮอร์โมนไม่ให้เปลี่ยนแปลงมากเกินไปและส่งผลต่อร่างกาย
7. การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ดี
แม้ว่าขณะตั้งครรภ์จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากมาย ที่ทำให้ว่าที่คุณแม่ไม่สบายตัว ทั้งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก หรือร่องรอยของผิวแตกลายที่แสดงให้เห็นเป็นผลลัพธ์ที่ไม่สวยงามบนร่างกาย แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ดี ที่คุณอยากจะให้มันคงอยู่ต่อไป เช่น:
เส้นผมที่เงางาม สุขภาพดี
“ความเปล่งปลั่ง” ที่ขึ้นชื่อ ผิวพรรณดูสุขภาพดี เอิบอิ่ม
หน้าอกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการให้นมลูกหลังคลอด
และนี่คือ 7 สิ่งที่ว่าที่คุณแม่จะต้องพบเจอในการเปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ พร้อมข้อมูลในการดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นอาการคันของคนท้อง, ผิวและท้องแตกลาย, ปวดหลัง, เท้าบวม หรือน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว ที่ได้นำมาฝากกัน เราหวังว่าว่าที่คุณแม่จะแฮปปี้กับข่าวดีกับของขวัญที่ได้รับ มีสุขภาพร่างกายและผิวพรรณที่ดีไปพร้อมๆ กัน
ตัวกระตุ้นที่ดีต่อสุขภาพ
เจาะสูตรอาหารที่อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการสามสูตรจาก BabyCenter® เพื่อตอบสนองความอยากอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
คุณแม่ทั่วโลกไว้วางใจ JOHNSON’S® ให้ดูแลลูกน้อย
เรามุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับคุณแม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ และนักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะยังคงบรรลุมาตรฐานสูงสุดในด้านความปลอดภัย คุณภาพ และความใส่ใจ