ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของทารก
สภาพแวดล้อมที่เด็กคนหนึ่งเจริญเติบโตขึ้นอาจมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการเจริญเติบโตของสมอง2 สมองของเด็กอาจสร้างจุดประสานประสาทใหม่ได้สูงถึง 1.8 ล้านจุดต่อวินาที และประสบการณ์ที่เด็กได้รับจะตัดสินว่าจุดประสารประสาทใดจะถูกเก็บไว้3
การกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทาง สิ่งที่ทารกรู้สึก, มองเห็น, ได้ยิน และได้กลิ่น จะช่วยยืดอายุให้กับการเชื่อมต่อปลายประสาทซินแนพซ์ระหว่างการพัฒนาการของสมอง3 เด็กทารกต้องการการกระตุ้นและการดูแลเพื่อเจริญเติบโตและมีพัฒนาการ2การกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทางจึงมีความจำเป็นเป็นพิเศษในช่วงแรกของพัฒนาการ หรือภายใน 3ปีแรกของชีวิต ซึ่งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของวิถีประสาทในสมองส่วนใหญ่ที่สนับสนุนด้านการสื่อสาร, พัฒนาการทางสังคม ความเข้าใจ และสุขภาพด้านอารมณ์2
การกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทางแสดงให้เห็นแล้วว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาของสมอง2,3,4 และดังนั้นจึงมีส่วนช่วยในพัฒนาการโดยรวมของทารกสุขภาพดี การกระตุ้นประสาทสัมผัสในหลายทางส่งสัญญาณถึงสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระบวนการทางประสาทสำหรับการเรียนรู้2 ผลงานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าทารกได้รับประโยชน์ด้านพัฒนาการอย่างแข็งแรงมีสุขภาพดี ผ่านประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัสในหลายทางซึ่งเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เช่น ความเครียดลดลงในเด็กทารกที่สุขภาพแข็งแรงและทารกคลอดก่อนกำหนด5,6 รวมถึงช่วยให้ทารกก้าวหน้ารวดเร็วขึ้นในการดูดนมแม่ ทำให้สามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้นในกรณีทารกคลอดก่อนกำหนด7
การศึกษาจำนวนเพิ่มมากขึ้นชี้ให้เห็นประโยชน์มากมายของการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทาง การศึกษาการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทาง ทั้งการได้ยิน, กายสัมผัส, การมองเห็น และการทรงตัว แสดงให้เห็นว่าการช่วยเหลือสนับสนุนด้านประสาทสัมผัสช่วยเพิ่มความตื่นตัวในเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด (n=37), เพิ่มอัตราการดูดนมแม่ และลดระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาลลงถึง 1.6 สัปดาห์7 การศึกษานี้ประกอบด้วยเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด (n=12) ซึ่งคลอดระหว่างสัปดาห์ที่ 23 และ 26 ของการตั้งครรภ์ และได้รับการอัลตราซาวนด์ศีรษะว่าปกติ และ (n=25) ทารกซึ่งคลอดระหว่างสัปดาห์ที่ 23 และ 31 ของการตั้งครรภ์ซึ่งบาดเจ็บที่ระบบประสาทส่วนกลาง ทารกคลอดก่อนกำหนดในกลุ่มได้รับการกระตุ้น ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทาง ทั้งการได้ยิน, กายสัมผัส, การมองเห็น และการทรงตัวนาน 15 นาที วันละสองครั้ง เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์จนกระทั่งสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ และเปรียบเทียบกับเด็กทารกที่ได้รับการดูแลแบบมาตรฐานสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด
การกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทางเพิ่มความตื่นตัวในเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด, เพิ่มอัตราการดูดนมแม่ และลดระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาลลง 1.6 สัปดาห์ 7
การกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทาง ทั้งทางการได้ยิน, กายสัมผัส, การมองเห็น และการทรงตัว ประกอบด้วยการพูดคุยกับทารกแรกเกิดด้วยน้ำเสียงอบอุ่นอ่อนโยน (การกระตุ้นด้านการได้ยิน) พร้อมกับมอบสัมผัสผิวกายผ่านการนวดตัว (การกระตุ้นด้านกายสัมผัส) และ พยายามสบตากับทารกเท่าที่สามารถทำได้ (การกระตุ้นด้านการมองเห็น) ตามด้วยการอุ้มทารกนอนแล้วโยกเบาๆ 7
การกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทาง ทั้งทางการได้ยิน, กายสัมผัส, การมองเห็น และการทรงตัว ยังได้รับการศึกษาในเด็กทารกสุขภาพดีเพื่อลดระดับความเครียด6 ความเครียดมีผลโดยตรงต่อพัฒนาการของสมองซึ่งเริ่มต้นระหว่างอยู่ในครรภ์8 และยังคงมีผลต่อเนื่องระหว่างที่สมองมีพัฒนาการระหว่างสามปีแรกของชีวิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง2
ระดับความเครียด (คอร์ติซอล) ลดลงในเด็กทารก (n=40) ที่ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทาง ทั้งทางการได้ยิน, กายสัมผัส, การมองเห็น และการทรงตัว ตรงข้ามกับเด็กทารกที่ไม่ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทาง ทารกในกลุ่มได้รับการกระตุ้นจะได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทางนาน 15 นาที มีการเก็บรวบรวมตัวอย่างน้ำลายในช่วงก่อนการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทาง, เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการกระตุ้นทันที และหลังจากนั้นอีก 10 นาที ทารกที่ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทางมีระดับคอร์ติซอลลดลงต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเวลาผ่านไป6
การกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายทางรวมถึงการพูดคุยกับทารกด้วยน้ำเสียงอบอุ่นอ่อนโยน (การกระตุ้นด้านการได้ยิน), การสัมผัสผิวกายผ่านการนวดตัว (การกระตุ้นด้านกายสัมผัส) และพยายามมองสบตากับทารกเท่าที่สามารถทำได้ (การกระตุ้นด้านการมองเห็น) สามารถช่วยลดความเครียดในทารกซึ่งวัดจากระดับคอร์ติซอล ช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้, คิด และเติบโต
คุณแม่ทั่วโลกไว้วางใจ JOHNSON’S® ให้ดูแลลูกน้อย
เรามุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับคุณแม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ และนักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะยังคงบรรลุมาตรฐานสูงสุดในด้านความปลอดภัย คุณภาพ และความใส่ใจ